รู้ทันโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์(พิเศษ) นาวาอากาศโท แพทย์หญิง ธัญญา เชฏฐากุล  แพทย์โรคต่อมไร้ท่อ

เบาหวานคืออะไร?

       เบาหวาน (Diabetes mellitus) คือ ภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และมีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกายจนทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่น เบา หวานขึ้นตา เบาหวานลงไต หรือเบาหวานลงปลายประสาท หรือในบางครั้งผู้ป่วยอาจมาด้วยอาการโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

       ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนเกินความสามารถของไตในการดูดกลับ น้ำตาลส่วนที่สูงเกิน 180 มก./ดล. (มิลลิกรัม/เดซิลิตร) นั้นจะล้นออกมาทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวานจึงเรียกว่า “เบาหวาน” โรคนี้เป็นที่รู้จักกันมานานกว่า 3,000 ปี โดยมีการสังเกตเห็นว่า ปัสสาวะของผู้ป่วยโรคนี้จะมีมดขึ้นเนื่องจากมีรสหวานนั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม...

วัณโรค (Tuberculosis)

โดย  วีระเดช สุวรรณลักษณ์

วัณโรคคืออะไร?

วัณโรค (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium Tuberculosis บางครั้งเรียกว่า เอเอฟบี (AFB, acid fast bacilli) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า วัณโรคปอด แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำ ไส้ ในสมัยก่อนผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่จะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาด้วยยาจน หายขาดได้ การติดเชื้อวัณโรคแตกต่างจากการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เพราะเชื้อวัณโรคสามารถ อยู่ในตัวผู้ป่วยโดยไม่มีอาการได้นานๆเรียกว่า วัณโรคระยะแฝง ซึ่งทั่วโลกมีผู้ป่วยวัณโรคระยะ แฝงประมาณ 2,000 ล้านคน โดย10% ของวัณโรคระยะแฝงจะเกิดเป็นโรควัณโรคปอดภายใน 10 ปี

วัณโรคติดต่อได้อย่างไร?

 

อ่านเพิ่มเติม...

โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease)

โดย  ศิริรัตน์ เรืองจุ้ย

บทนำ

คนเรามีไต 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหลังของช่องท้องระดับเอว ไตประกอบด้วยหน่วยกรองที่ทำหน้าที่กรองของเสียในเลือดทิ้งไปทางปัสสาวะข้างละประมาณ 1 ล้านหน่วย ปัสสาวะที่ออกจากไตจะไหลต่อไปยังท่อไต 2 ข้างและถูกเก็บรวบรวมไว้ในกระเพาะปัสสาวะ และเมื่อเรารู้สึกปวดปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะบีบตัวให้ปัสสาวะออกจากร่างกายโดยผ่านทางท่อปัสสาวะ

หน้าที่หลักของไต คือ การกำจัดของเสียซึ่งเกิดจากการเผาผลาญอาหารและการสลายของสารต่างๆในร่างกาย โดยในแต่ละวัน ไตจะทำหน้าที่กรองของเสียและขับน้ำส่วนเกินออกจากเลือดที่ผ่านหน่วยกรองเพื่อขับทิ้งไปทางปัสสาวะ และดูดกลับสารที่ร่างกายต้องการใช้ประโยชน์กลับเข้าสู่กระแสเลือด ไตช่วยรักษาระดับของเกลือแร่และกรด-ด่างในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ไตยังสร้างสารและฮอร์โมนที่สำคัญต่อร่างกาย ได้แก่

1.    อิริโธรโพอิติน (Erythropoietin) เป็นสารที่กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง การขาดสารนี้ทำให้เกิดภาวะซีด

2.    เรนนิน (Renin) เป็นสารที่ควบคุมปริมาตรน้ำในร่างกายและมีผลต่อระดับความดันโลหิต (ความดันเลือด)

3.    วิตามิน ดี ในรูปที่พร้อมออกฤทธิ์ ซึ่งช่วยการดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตจากอาหารในลำไส้ ทำให้กระดูกแข็งแรง

ในการประเมินการทำงานของไต สามารถประเมินจากค่าอัตราการกรองของไต (Glomerular filtration rate;ซึ่งนิยมเรียกย่อว่า GFR/จีเอฟอาร์) ซึ่งค่าปกติอยู่ในช่วง 90-120 มิลลิลิตร (มล.) ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร (ตร.ม.) และจากปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ โดยเมื่อไตถูกทำลาย จะทำให้พบปริมาณโปรตีนในปัสสาวะเพิ่มขึ้น

อ่านเพิ่มเติม...

 ความดันโลหิตสูง (Hypertension)

 โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์

วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์

 บทนำ

         โรคความดันโลหิตสูง หรือแพทย์บางท่านเรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension หรือ High blood pressure) เป็นโรคพบได้บ่อยมากอีกโรคหนึ่งในผู้ใหญ่ พบได้สูงถึง ประมาณ 25-30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด โดยพบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิง และพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ ในบางประเทศ พบโรคนี้ได้สูงถึง 50% ของผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ส่วนในเด็กพบโรคนี้ได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก

        โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะมีความดันโลหิต วัดได้สูงตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตร –ปรอท ขึ้นไป ทั้งนี้ความดันโลหิตปกติ คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท

อ่านเพิ่มเติม...

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Nullam eget magna ac dui semper vehicula. Vivamus eget nisi lectus. Sed vehicula, ante non blandit viverra, mauris odio vehicula nibh, quis lacinia urna nibh eget leo nulla vel.

อ่านเพิ่มเติม...